ReadyPlanet.com
dot dot
bulletFor Sell Sep, 16
bulletFor Sell June, 16
bulletFor Sell Feb, 16
bulletFor Sell Dec, 15
bulletFor Sell Nov, 15
bulletFor Sell Oct, 2015 Some Budget Price
bulletFor Sell July, 2015
bulletFor Sell Feb, 2015
bulletFor Sell Jan, 2015
bulletFor Sell Dec, 2014
bulletFor Sell Nov, 14
bulletFor Sell Oct, 2014
bulletFor Sell Sep, 2014
bulletFor Sell Aug, 2014
bulletFor Sell May, 2014 Part 2
bulletFor Sell May, 2014 Part 1
bulletFor Sell Mar, 2014 Part 2 For Beginner
bulletFor Sell Mar, 2014 Part 1
bulletFor Sell Feb, 2014 Part 3
bulletFor Sell Feb, 2014 Part 2
bulletFor Sell Feb, 2014 Part 1
bulletFor Sell Nov, 2013
bulletFor Sell Oct, 2013 Part 2
bulletFor Sell Oct, 2013 Part 1
bulletFor Sell Sep, 2013 For Beginner
bulletFor Sell Aug, 2013
bulletFor Sell July, 2013
bulletFor Sell May, 2013
bulletFor Sell Mar, 2013
bulletBonsai Trip Feb, 2013
bulletBonsai Trip Feb, 2013 (2)
bulletFeb, 2013 Part 1
bulletFeb, 2013 Part 2
bulletFeb, 2013 Part 3
bulletFeb, 2013 Part 4
bulletMini Bonsai (Oct 27, 12)
bulletSuiseki Aug 3, 12
bulletBlack Pine 2 July 24, 12
bulletBlack Pine 1 July 24, 12
bulletPINE June 2012
bulletสวนบอนไซในประเทศญี่ปุ่น NEW!!!!
bulletนิตยสารพลอยแกมเพชร
bulletนิตยสาร Q House
bulletนิตยสาร Expression Amex
bulletIsetan Leaflet
dot
Newsletter

dot




บอนไซโคเอน BONSAI KOEN


How to start (click)article

บทความนี้เป็นการเปิดกว้างและตอบคำถามในใจลูกค้าหลายๆท่านที่ให้ความสนใจ Bonsai ของเรา โดยผู้เขียนยึดข้อมูลและประสบการณ์ของผู้เขียนที่ศึกษาด้วยตนเองและเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ยังเป็นเด็กเป็นฐานข้อมูล ดังนั้นหากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอรับไว้แต่เพียงผู้เดียว แต่หากมีประโยชน์ต่อผู้อ่านอยู่บ้าง ผู้เขียนขอยกคุณความดีให้ผู้อาวุโสในวงการบอนไซแห่งประเทศไทยทุกท่าน รวมทั้งผู้มีประสบการณ์จากประเทศ ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และเกาหลี ที่ได้กรุณาเปิดเผยข้อมูลให้ผู้เขียนได้พัฒนาการเลี้ยงบอนไซจนทุกวันนี้

บอนไซเป็นต้นไม้ปรกติที่นำมาฝึก (โดยการตัดดัด ฯลฯ) เพื่อจำลองให้ได้สัดส่วนและเหมือนต้นไม้ใหญ่ในธรรมชาติ ดังนั้นการดูแลพื้นฐานบอนไซจึงไม่ยากอย่างที่บางท่านเข้าใจ การให้แดด น้ำ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง เหมือนการเลี้ยงต้นไม้ปรกติโดยทั่วไป อาจมีข้อแตกต่างกันบ้างตามชนิดพันธุ์ไม้นั้นๆ

ขั้นตอนที่ยากและเป็นขั้นตอนที่มักจะทำให้ต้นไม้ตาย อยู่ที่ขั้นตอนการฝึกจากต้นไม้ธรรมดาให้เป็นบอนไซ เนื่องจากเราอาจจะต้องตัดรากแก้วและรากแขนงออกค่อนข้างมาก หากดูแลในขั้นตอนนี้ไม่ดีจะทำให้ต้นไม้ตายได้

วิธีการเริ่มเลี้ยงบอนไซโดยทั่วๆไปแบ่งออกเป็น แนวทางคือ

1. เริ่มสร้างจากตอไม้ที่เห็นว่ามีโคนรากดี หรือมีรูปทรงที่สามารถนำมาเลียนไม้ใหญ่ในธรรมชาติได้ ซึ่งต้องใช้เวลาและความอดทนในการทำ เหมาะสำหรับท่านที่พอมีประสบการณ์ในการเลี้ยงมาบ้างแล้ว หรือท่านที่ได้ศึกษาวิธีฝึกมาบ้างแล้ว ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เบื่อก่อนที่จะได้บอนไซที่สมบูรณ์สักต้นได้ ผู้เขียนเคยเห็นบางท่านที่มีตอไม้โคนรากดีๆกว่า 30 ต้น โดยใช้เวลาเลี้ยงกว่า 5-10 ปี ถึงจบสมบูรณ์ โดยตลอดระยะเวลาที่ฝึกอยู่นั้นเป็นระยะเวลาที่ได้ฝึกจิตอย่างแท้จริง เพราะนอกจากต้องรอกิ่งที่ต้องการทั้งสัดส่วนและตำแหน่ง บางครั้งอาจต้องปล่อยให้กิ่งนั้นๆยืดยาว ดูรก สักพัก จิตจึงต้องนิ่งและเย็นพอที่จะควบคุมไม่ให้เราไปตัดก่อนเวลาอันควร รวมทั้งอดทนที่จะเห็นความรกนั้นอยู่พักใหญ่ๆ

แต่...สิ่งที่ได้คือความภาคภูมิใจในผลงานที่ได้จากตนเอง และคุณค่าทางจิตใจอย่างแท้จริง

2. ซื้อบอนไซสำเร็จรูปตามกำลังทรัพย์ ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ต้องการชื่นชมความงามของบอนไซโดยไม่ต้องเสียเวลากับการฝึกต้นไม้ สามารถชื่นชมความงามได้ทันที และสามารถเลือกซื้อได้ตามกำลังทรัพย์

การเลือกพันธ์ไม้ มี 2 แนวทางคือ

1. พันธ์ไม้ในประเทศ อาทิเช่น ตะโก มะสัง โมก หมากเล็กหมากน้อย เกล็ดปลาหมอ ฯลฯ ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมื่องของประเทศไทยเรา สมควรที่จะช่วยกันสนับสนุนให้แพร่หลายต่อไปเพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของบอนไซไทย

2. พันธุ์ไม้ต่างประเทศ อาทิเช่น สนใบพาย, ชาฮกเกี้ยน, สนจูนิเปอร์ ฯลฯ โดยเลือกเฉพาะพันธุ์ไม้ที่สามารถอยู่รอดได้ในประเทศไทย

**แต่สำหรับตัวผู้เขียนเอง หลังจากเริ่มเล่นได้สักพักเริ่มเห็น Pattern หรือรูปทรงที่คล้ายๆกันของพันธ็ไม้ในประเทศ ทำให้รู้สึกถูกจำกัดด้วยมาตรฐานบางอย่างที่ถึงแม้จะทำให้ต้นไม้มีความสวยงามเหมือนไม้ใหญ่ในธรรมชาติจริง แต่กลับให้ความรู้สึกแข็งกระด้าง, จำเจ และน่าเบื่อด้วยกฎระเบียบกิ่งมาตรฐานหนึ่งสองสามตามตำแหน่ง เมื่อได้มีโอกาสเห็นการพัฒนาบอนไซในประเทศญี่ปุ่นที่ไม่ยึดหลักดังกล่าวแต่ยึดองค์ประกอบรวมในการสร้างเป็นบอนไซแต่ละต้น จึงตัดสินใจหันมาเล่นบอนไซจากพันธุ์ไม้ต่างประเทศทั้งหมด และตัดสินใจที่จะเล่นเฉพาะต้นไม้ที่จบสวยงามแล้ว พร้อมที่จะให้ผู้เขียนชื่นชมความงามได้ทันที ทั้งนี้ผู้เขียนไม่ได้มีทัศนะคติในแง่ลบกับพันธุ์ไม้ในประเทศ หรือพันธุ์ไม้ที่ต้องใช้เวลาฝึกแต่อย่างใด ตรงกันข้าม กลับชื่นชมผู้ที่สามารถสร้างพันธุ์ไม้ในประเทศให้มีความงามได้อีกด้วย

การดูแลรักษา

ดังที่ได้กล่าวแต่ต้นแล้วว่า บอนไซ ก็คือต้นไม้ปรกติที่ผ่านการฝึก (ดัด, ตัด ฯลฯ) เพื่อจำลองให้เหมือนต้นไม้ใหญ่ในธรรมชาติ ดังนั้นการดูแลจึงเหมือนการดูแลต้นไม้ปรกติ แต่อาจต้องใส่ใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนดินทุกๆ 2-5 ปี (แล้วแต่พันธุ์ไม้และขนาดกระถาง)

หากท่านดูแลต้นไม้ดี ต้นไม้นั้นก็จะเจริญงอกงามมีอายุเป็นร้อยๆปี สามารถส่งต่อให้รุ่นลูก รุ่นหลานต่อๆไปได้ แต่หากดูแลไม่ดี ต้นไม้ก็มีสิทธิ์ที่จะตายได้...บอนไซก็เช่นกัน ผู้ที่สนใจเริ่มเล่นส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจผิด คิดว่าบอนไซไม่ต้องการน้ำมากแค่ Spray น้ำที่ใบก็น่าจะเพียงพอ หรือเห็นในรูปจากต่างประเทศตั้งไว้ในห้องสวยงาม ก็เข้าใจผิดคิดว่าสามารถเลี้ยงในร่มได้ ดังนั้น การที่ท่านจะเริ่มเลี้ยงบอนไซ โดยเฉพาะพันธุ์ไม้แปลกๆ ควรจะสอบถามผู้ขาย หรือผู้รู้ ว่าพันธุ์ไม้นั้นๆต้องการอะไรเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น สนใบพาย, สนจูนิเปอร์ บางท่านเห็นว่าเป็นไม้จากเมืองหนาว จึงนำไปเลี้ยงในที่ร่มไม่โดนแดดตลอดเวลา, ให้น้ำมากเพราะกลัวร้อนเกินไป, ใช้ดินชนิดละเอียดเพื่อหวังให้ดินเปียกตลอดเวลา เช่น ดินก้ามปู, ดินขุยไผ่, กากมะพร้าว ฯลฯ เหล่านี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและเป็นสาเหตุทำให้ต้นไม้ตาย ในบทความนี้ผู้เขียนจะยกตัวอย่างเฉพาะต้นสนใบพายและสนจูนิเปอร์ดังนี้

ดินที่ใช้ ควรมีลักษณะเป็นเม็ดให้น้ำและอากาศผ่านได้เป็นอย่างดี เช่นดินเผาผสมถ่านผสมอิฐ ซึ่งมีคุณสมบัติไม่แฉะแต่ชื้น

กระถาง ห้ามมีน้ำขัง โดยทดลองราดน้ำใส่กระถางเปล่าๆแล้วดูว่ามีน้ำขังตามขอบหรือไม่

สถานที่ตั้งต้นไม้ ต้องโดนแดดอย่างน้อย 4 ชั่วโมง/วันทั่วทั้งต้น ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

ปุ๋ย ควรใช้จากธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยชีวภาพ และควรมีฮอร์โมนพิเศษเฉพาะ

 การรดน้ำ ขึ้นอยู่กับขนาดต้นไม้และสถานที่ตั้ง หากต้นใหญ่และวางอยู่ในที่ร่มมากการให้น้ำเพียงวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้ว แต่หากอยู่ในที่แดดจัดหรือกระถางมีขนาดเล็ก ควรให้น้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในหน้าร้อน ส่วนหน้าฝนอาจไม่ต้องให้น้ำในวันที่ฝนตก



หน้า 1/1
1
[Go to top]



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
www.bonsai-thailand.com